Introduction |
การได้รับน้ำและอิเล็กโทรไลท์เข้าร่างกาย
การสูญเสียน้ำและอิเล็กโทรไลท์ออกจากร่างกาย
Hemeostatic mechanism
( กลไกการรักษาสมดุลของร่างกาย
)
|
ในร่างกายของมนุษย์จะประกอบด้วยสารต่างๆ
เช่น โปรตีน
ไขมัน แร่ธาตุ
และน้ำ ในส่วนของน้ำและอิเล็กโทรไลท์ที่อยู่ภายในร่างกาย
จะมีบทบาทสำคัญต่อการธำรงดุล (homeostasis)
ให้ร่างกายอยู่ในภาวะปกติ
ซึ่งความเข้มข้นของอิเล็กโทรไลท์และปริมาณน้ำในร่างกายจะมีค่าคงที่อยู่ค่าหนึ่งเสมอ
ภายใต้การควบคุมของระบบต่างๆ
ภายในร่างกาย
โดยการขับออกน้ำและอิเล็กโทรไลท์ให้มีปริมาณเท่ากับที่รับเข้ามา
ซึ่งในแต่ละวันอาจได้รับเข้ามาไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ
อย่าง เช่น
การรับประทานอาหาร
การดื่มน้ำ
หรือแม้แต่การเจ็บไข้ได้ป่วย |
1.
การได้รับน้ำและอิเล็กโทรไลท์เข้าร่างกาย
|
1. ระบบทางเดินอาหาร
เป็นระบบที่ร่างกายได้รับน้ำและอิเล็กโทรไลท์มากที่สุด
จากการรับประทานอาหารและการดื่มน้ำ
โดยจะมีการดูดซึมที่ลำไส้เล็กมากที่สุด
รองลงมาคือลำไส้ใหญ่ |
2.
กระบวนการเมตาบอลิซึมในร่างกาย
เกิดจากการสลายสารอาหารในร่างกาย
และใช้ออกซิเจน
(O2) ดังสมการ
|
3. การให้ทางหลอดเลือด
ส่วนใหญ่จะมาจากการรักษาอาการเจ็บป่วย
เช่น ฉีดยา
ให้เลือด ให้น้ำเกลือ |
2.
การสูญเสียน้ำและอิเล็กโทรไลท์ออกจากร่างกาย |
1. จากการขับปัสสาวะ
ไตมีหน้าที่ช่วยควบคุมสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลท์ในร่างกาย
โดยการขับทิ้งน้ำและอิเล็กโทรไลท์ส่วนเกินออกทางปัสสาวะ
ดังนั้นถ้ามีความผิดปกติของไต
อาจมีผลต่อปริมาณน้ำและอิเล็กโทรไลท์ในร่างกายได้ |
2. ผิวหนัง
สูญเสียทางการขับเหงื่อ
ซึ่งโดยปกติแล้ว
ร่างกายจะขับน้ำและโซเดียมออกทางเหงื่อ
ประมาณ 500 มิลลิลิตรต่อวัน |
3. การหายใจ
จะมีการสูญเสียน้ำในรูปของไอน้ำออกมากับการหายใจ |
4. จากระบบทางเดินอาหาร
เช่น การถ่ายอุจจาระ
อาเจียน ซึ่งในภาวะปกติจะสูญเสียออกมาน้อย |
5. ทางอื่นๆ
เช่น จากการผ่าตัด
ประจำเดือน
หรือขณะคลอดบุตร
|
 |
รูป
: ปริมาณน้ำรับเข้าและขับออกตามภาวะปกติแต่ละวัน |
(
จาก : ประสาท
ว่านเครือ
, 2538 : 9 )
|
3.
Hemeostatic mechanism ( กลไกการรักษาสมดุลของร่างกาย
) |
3.1 ไต
: ไตมีความสำคัญในการควบคุมระดับน้ำ
และอิเล็กโทรไลท์ให้อยู่ในระดับปกติ
ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมน
aldosterone และ antidiuretic
hormone (ADH) โดยหน้าที่สำคัญของไตในการรักษาระดับสมดุลน้ำและอิเล็กโทรไลท์
มีดังนี้ คือ
|
1) รักษาความเข้มข้นและปริมาณของ
ECF โดยการเก็บกักและขับทิ้งน้ำและอิเล็กโทรไลท์
ผ่านระบบ
renin – angiotensin ซึ่งสามารถควบคุมการหลั่งฮอร์โมน
aldosterone ได้ |
2) รักษาระดับอิเล็กโทรไลท์ใน
ECF โดยการเก็บกักและขับทิ้งซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณของ
อิเล็กโทรไลท์ที่รับเข้าสู่ร่างกาย |
3) รักษาระดับของกรด
– ด่าง โดยการดูดกลับ
HCO3- และขับทิ้ง
H+ ออกไปกับปัสสาวะ
|
4) ขับของเสียและสารพิษออกจากร่างกาย
ซึ่งปัสสาวะจะยอมให้สารที่ไม่มีประจุผ่านได้ (
ส่วนมากเป็น
ของเสียจาก
metabolism ของร่างกาย
) |
3.2 หัวใจ
และ Atrial Natriuretic Factor
(ANF): เมื่อหัวใจบีบตัวจะมีผลทำให้การหมุนเวียนของเลือดผ่านเข้าออกไตได้เพียงพอกับความต้องการของไต
และเพียงพอต่อการรักษาระดับของน้ำและอิเล็กโทรไลท์
ในส่วนของ
ANF หรือ
natriuretic peptide (ANP) ซึ่งสร้างมาจาก
atrium ขวาของหัวใจ
ซึ่งจะมีผลโดยตรงทำให้หลอดเลือดขยายตัว
และความดันของร่างกายลดลง
จึงทำให้มีการขับ
sodium ออกไปกับปัสสาวะมากขึ้น |
3.3 ปอด
:
ปอดเป็นอวัยวะที่สำคัญในการควบคุมระบบ
กรด - ด่าง
ของร่างกาย
โดยการควบคุมระดับของ
CO2 ใน ECF
ซึ่งในแต่ละวันปอดสามารถขับ
H+ ออกมากับการหายใจได้มากถึงวันละประมาณ
13,000 mEq ( ไตประมาณ
40 – 50 mEq ) |
3.4 ต่อมใต้สมอง
( pituitary gland ) :
ฮอร์โมน ADH
จะมีบทบาทสำคัญซึ่งช่วยในการดูดกลับน้ำ
จึงช่วยลดการสูญเสียน้ำได้
โดย ADH จะถูกกระตุ้นให้หลั่งมากขึ้น
เมื่อความเข้มข้นใน
plasma สูงขึ้น
หรือจากปริมาณเลือดที่ลดน้อยลง
ซึ่ง ADH จะไปมีผลที่
collecting duct และ
distal tubule ของไต
ให้ดูดกลับน้ำมากขึ้น
เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกาย |
3.5 ต่อมหมวกไต
( adrenal gland ): สร้างฮอร์โมนที่สำคัญ
คือ aldosterone ซึ่งช่วยในการดูดกลับ
Na+ โดยการแลกเปลี่ยนกับการขับออกของ
K+ และ
H+ ตรงตำแหน่ง
distal tubule ของไต
ฮอร์โมนนี้จะถูกควบคุมโดยระบบ
renin – angiotensin system |
3.6 ต่อมพาราไทรอยด์
( parathyroid gland ): สร้าง
parathyroid hormone (PTH) ซึ่งควบคุมสมดุลของ
Ca++ และ
phosphate โดยการเพิ่มระดับ
Ca++ ให้มากขึ้น
ซึ่งได้มาจากการปลดปล่อย
Ca++ จากกระดูก
และการเพิ่มการดูดกลับ
Ca++ จากไต
(ฮอร์โมน calcitonin
จาก thyroid
gland จะช่วยลดระดับ
Ca++ ใน
plasma )
|
 |
|
รูป :
การตอบสนองของร่างกายเพื่อควบคุมน้ำและอิเล็คโทรไลท์
เมื่อร่างกายเสียน้ำแบบ
ไอโซโทนิก |
( จาก :
สัญญา ร้อยสมมุติ
, 2535 : 249 ) |
TOP
|